ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ของ นาย. ธิติวุฒิ ลี้เปลี่ยน นะคับ

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

๑.กฎหมาย
๑.๑ ความหมายของกฎหมาย
ความหมายของกฎหมายนั้น ได้มีนักปรัชญาและนักกฎหมายให้คำนิยามไว้ต่างกันดังตัวอย่าง เช่น
          จอห์น ออสติน (John Austin) ปรัชญาเมธีทางกฎหมายชาวอังกฤษ อธิบายว่า กฎหมาย คือ คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์  ซึ่งบังคับใช้กับกฎหมายทั้งหลาย  ถ้าผู้ใดไม่ปฎิบัติตาม โดยปกติแล้ว ผู้นั้นต้องรับโทษ
          หลวงจำรูญเนติศาสตร์ อธิบายว่า กฎหมาย คือ กฎข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติซึ่งผู้มีอำนาจของประเทศได้บัญญัติขึ้น และบังคับให้ผู้ที่อยู่ในสังกัดของประเทศนั้นถือปฏิบัติตาม

          ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย นักกฎหมาย อธิบายว่า กฎหมาย ต้องแยกออกเป็นกฎหมายตามเนื้อความและกฎหมายตามแบบพิธีเสียก่อน จึงจะสามารถอธิบายความหมายของกฎหมายได้ถูกต้อง  โดยกฎหมายตามเนื้อความ คือ กฎหมายที่บัญญัติมีลักษณะเป็นกฎหมายแท้  ได้แก่  ข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ และกฎหมายตามแบบพิธี คือ กฎหมายที่ออกมาโดยวิธีบัญญัติกฎหมายไม่ต้องคำนึงว่ากฎหมายนั้นเข้าลักษณะ เป็นกฎหมายตามเนื้อความหรือไม่ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปี เพราแม้ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติ” หรือเป็นกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้มีลักษณะเป็นกฎหมายตามเนื้อความแต่ประการใด และมิได้มีข้อความบังคับความประพฤติของพลเมือง  แต่จำเป็นต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ  เพื่อให้การใช้เงินแผ่นดินของรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากรัฐสภาหรือฝ่ายนิติบัญญัติก่อนเท่านั้น  เป็นต้นอ่านเพิ่มเติม
ความเป็นมาและความสำคัญ

ประเทศเกือบทั้งหมดในโลกย่อมต้องมีรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นเครื่องกำหนดรูปแบบในการปกครองประเทศ ไม่ว่าประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย สังคมนิยม หรือแบบคอมมิวนิสต์ ต่างมีรัฐธรรมนูญตามแบบฉบับของประเทศตนเองทั้งสิ้น สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร ประเทศไทยเคยมีทั้งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่จัดทำขึ้นในขณะที่บ้าน เมืองอยู่ในภาวะไม่สงบ หรือหลังจากมีการปฏิบัติรัฐประหารและรัฐธรรมนูญฉบับถาวร โดยรวมทั้งสองประเภทแล้ว ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ ฉบับปัจจุบัน คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550อ่านเพิ่มเติม

การเมืองการปกครอง

ลักษณะการเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ
          ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอ

การเมืองการปกครอง

ลักษณะการเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ
          ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอ

ความหมายของสิทธิมนุษยชน

ความหมายของสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน(Human Rights) หมายถึง สิทธิของความเป็นมนุษย์ ในอดีตยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนภายหลังที่ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติแล้ว คำว่า สิทธิมนุษยชน จึงได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ ในกฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้หลายแห่ง เช่นในอารัมภบท ได้กล่าวถึงความมุ่งหมายของสหประชาชาติไว้ว่าเพื่อเป็นการยืนยันและให้การรับรองถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษยชาติ"
ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน
ในยุคโบราณซึ่งเต็มไปด้วยความยากลำบาก ทุกหนแห่งมีความไม่เสมอภาคกัน มนุษย์ถูกแบ่งเป็นชนชั้น ชนชั้นล่างจะถูกเอารัดเอาเปรียบและถูกปฏิบัติเฉกเช่นเดียวกับสิ่งของ สิทธิถูกสงวนไว้สำหรับขุนนางซึ่งเป็นชนชั้นสูงเท่านั้น
ต่อมามนุษย์เริ่มมีความเป็นตัวของตัวเอง มีเหตุอ่านเพิ่มเติม

การเป็นพลเมืองดีของชาติและสังคมโลก

การเป็นพลเมืองดีของชาติและสังคมโลก

สาระการเรียนรู้
1.การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม
2.การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคลอื่น
3.การมีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
5.การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง
6.การมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสิ่งแวดล้อม

เรียนรู้วัฒนธรรม

บทที่ 2        เรียนรู้วัฒนธรรม
สาระการเรียนรู้
1.ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
2.ลักษณะและความสำคัญของวัฒนธรรมไทย
3.การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและแนวทางอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงาม
4.ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล
5.วิธีการเลือกรับวัฒนธรรมสากล
ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
Ø ความหมายของวัฒนธรรม
       วัฒนธรรม หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่มนุษย์สร้างขึ้นในแต่ละสังคม ซึ่งแต่ละสังคมจะต้องมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
       พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542อ่านเพิ่มเติม

มนุษย์กับสังคม

 มนุษย์กับสังคม

       ประเภทของสัตว์ทางสังคมวิทยา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

                1. สัตว์สังคม เป็นสัตว์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ ช้าง เป็นต้น
                2.
 สัตว์โลก เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตตามลำพังได้โดยไม่ต้องอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก็ได้ เช่น จระเข้ แมว สุนัข แรด เป็นต้น

       มนุษย์จัดเป็นสัตว์สังคมจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีลักษณะพิเศษเหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ เพราะมีลักษณะดังนี้ 
                1. อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มอ่านเพิ่มเติม